ยาสลายมโน ของจริงหรือแต่โฆษณาอวดสรรพคุณ?

ยาสลายมโน เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ตั้งชื่อสินค้าได้น่าสนใจ และเคยตกเป็นกระแสทางสังคม ที่ตั้งข้อสงสัยกันว่าเจ้ายาสลายมโนที่ว่า แท้จริงแล้วมันมีสรรพคุณช่วยในเรื่องของอะไรกันแน่ หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์กันอย่างจริงจัง จากคำโฆษณาที่กล่าวว่า ว่า ยาสลายมโนช่วยบรรเทาอาการเพ้อเจ้อ หรือเพ้อฝันในผู้ป่วยที่มีการสร้างมโนภาพ คิดเข้าข้างตัวเอง มีจินตนาการถึงการมีหน้าอกที่สวยงาม เต่งตึง กระชับ ได้รูปนั้น สามาระสรุปใจความที่สำคัญได้ว่า ยาสลายมโนโดยแท้จริงแล้ว ก็คือ “ยาเพิ่มขนาดหน้าอก” นั่นเอง และคำถามที่เกิดขึ้นตามมานั้นก็คือ ยาสลายมโน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงหรือเปล่า ซึ่งภายในบทความชิ้นนี้มีคำตอบมาให้กับคุณผู้อ่านให้ดีรับทราบกัน

ยาสลายมโน อันตรายหรือเปล่า?
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ไทยรัฐออนไลน์ระบุว่า อย.เร่งตรวจสอบสารอันตรายใน “ยาเม็ดสลายมโน” หลังตรวจสอบพบมีการสวมทะเบียน อย. พร้อมเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อสรรพคุณ มโนอกโตเป็นจริง ชี้อาจอันตรายจากการปนเปื้อนยาหรือสารอันตรายได้
ในรายงานข่าว ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากกรณีที่มีข่าวเกี่ยวกับการโฆษณาขายยาสลายมโน เบื้องต้น อย.ได้ตรวจสอบเลขสารบบอาหาร พบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนำเลขสารบบอาหารของผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาใช้ ซึ่งเป็นการสวมทะเบียน ดังนั้น อย. มีความห่วงใยประชาชน เป็นอย่างมาก จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาและซื้อยาเม็ดสลายมโนดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีการลักลอบใส่ยา หรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนได้
ทาง อย.ได้ส่งเรื่องยาสลายมโน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตรวจสอบแหล่งผลิตและจำหน่ายแล้ว รวมทั้งตรวจหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งทาง อย.ได้ย้ำเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น อ้างว่าทำให้หน้าอกโต ช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะล้วนแต่เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น
images
ยาสลายมโนถือเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่งที่มีการจำหน่ายกันทั่วไปตามท้องตลาดโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ซึ่งมีความเสี่ยงมากต่อผู้บริโภค เนื่องจากคนสมัยนี้อยากสวยอยากหล่อกันจนบางครั้งลืมฉุกคิดไปว่าอาหารเสริมที่เรารับประทานนั้นมีอันตรายหรือผลข้างเคียงอย่างไรบ้างต่อร่างกาย ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรพิจารณาให้ดีให้ถ้วนถี่เสียก่อน โดยในฉลากต้องแสดงภาษาไทย มีชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิตหรือนำเข้า เลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ และหากพบว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพมีการโอ้อวดเกินจริง หรือได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถร้องเรียนได้ทันทีผ่านสายด่วน อย. (1556) เพื่อไม่ให้ผู้ที่หวังรวยด้วยการเอาเปรียบผู้บริโภคได้อยู่รอดในสังคม
หลังจากที่ได้รับทราบข้อมูล ข้อเท็จจริงดังกล่าวไปแล้วนั้น เชื่อว่าคุณสาวๆที่อยากมีหยน้าอก หน้าใจใหญ่ๆ ก็คงฉุกใจคิดได้ว่ายาสลายมโนมีความปลอดภัยต่อตัวเองหรือไม่ และขอแนะนำว่าในการเลือกซื้อสินค้าอาหารเสริม หรือเหล่ายาเพิ่มขนาดหน้าอก อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่ดูสวยหรูจนเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะกลายเป็นเหยื่อของพ่อค้า แม่ค้าหัวใจ แต่ไร้จรรยาบรรณในที่สุด
Share on Google Plus

About Unknown

รวบรวมความรู้กับความสวยงาม สุขภาพ นำมาให้ผู้อ่านกันทุกท่าน
    Blogger Comment
    Facebook Comment

0 comments:

แสดงความคิดเห็น